อันตรภาคชั้น




ตัวอย่าง  ถ้าคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่งจำนวน 50 คน เป็นดังนี้
70 51 80 63 84 64 85 53 62 74 42 62 73 76 52 51 64 88 65 78 77 48 81 42 65 77 54 65 56 68 64 58 61 74 43 44 66 55 59 78 60 47 63 48 68 73 50 69 54 89
ถ้านำคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์มากำหนดเป็นช่วงๆ แล้วนับจำนวนนักเรียนที่สอบได้ในแต่ละช่วงซึ่งเรียกว่า ความถี่ จะได้ตารางที่เรียกว่า ตารางแจกแจงความถี่ ดังนี้

ตารางแจกแจงความถี่
คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ ความถี่
                 41 - 50     8
                 51 - 60     11
                 61 - 70     16
                 71 - 80      10
                 81 - 90      5
        
จากตารางแจกแจงความถี่ข้างต้น แสดงว่า
มีนักเรียนที่สอบได้วิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 41 ถึง 50 จำนวน 8 คน
มีนักเรียนที่สอบได้วิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 51 ถึง 60 จำนวน 11 คน
มีนักเรียนที่สอบได้วิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 61 ถึง 70 จำนวน 16 คน
มีนักเรียนที่สอบได้วิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 71 ถึง 80 จำนวน 10 คน
มีนักเรียนที่สอบได้วิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 81 ถึง 90 จำนวน 5 คน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นตกแต่ง ppt


อันตรภาคชั้น (Class Interval) หมายถึง ช่วงคะแนนที่แบ่งออกเป็นช่วงๆ ในแต่ละช่วงคือค่าที่เป็นไปได้ของข้อมูล จากตารางแจกแจงความถี่ข้างต้น แสดงว่า
                                                ช่วงคะแนน 41 - 50 คือ อันตรภาคชั้นที่ 1 
                                                ช่วงคะแนน 51 - 60 คือ อันตรภาคชั้นที่ 2
                                                ช่วงคะแนน 61 - 70 คือ อันตรภาคชั้นที่ 3
                                                ช่วงคะแนน 71 - 80 คือ อันตรภาคชั้นที่ 4
                                                ช่วงคะแนน 81 - 90 คือ อันตรภาคชั้นที่ 5

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล